สวัสดีครับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ผ่ายคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ก่อนอื่นต้องบอกว่าต้องขออภัยที่ได้ห่างหายไปนานจากการเขียนบทความ พอดีกำลังเข้าสู่ฤดูของการเปลี่ยนผ่านของผมเอง(ฤดูอกหัก555) อะไรหลายๆ อย่างมันเปลี่ยน คนเปลี่ยน จิตใจเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน ครับ.. ก็ต้องยอมรับว่าทุกคนคงมีช่วงของการเปลี่ยนผ่านกันทุกคน ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาในจังหวะชีวิตของเราอย่างไร ให้ดีที่สุดและสวยงามที่สุด

 ครับก็ทักทายกันพอประมาณนะครับ สำหรับบทความในวันนี้ก็เช่นกันครับ เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันนั่นคือการเปลี่ยนผ่านจากโลกของอานาล็อก(Analog) มาเป็นโลกของดิจิทัล(Digital) หลายท่านอาจะได้ยินเขาพูดๆ กันเกี่ยวกับ Digital Transformation จริงๆทุกวันนี้เราก็เข้าสู่ยุคดิจิทัลกันมานานหลายปีแล้วนะครับ เพียงแค่เราไม่ได้สังเกตุมัน จนกว่าจะมีใครบางคน มาสั่งคุณว่า คุณจะต้องเปลี่ยนการใช้กระดาษมาเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กันได้แล้ว.. แล้ววิธีการละ มันเริ่มตรงไหน ทำอย่างไร เขาก็ไม่ได้บอกมาให้ด้วยนะ นั่นละ เป็นตัวอย่างที่มาของปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน่วยงาน/องค์กรที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของดิจิทัล

จากภาพด้านบนนี้ผมแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบหลัก ๆ ทั้ง 3 ที่จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมถึงจะนำพาไปสู่จุดหมายได้

  1. People ผู้คน ในที่นี้หมายถึง บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักเรียน ที่อยู่ในหน่วยงาน/องค์กรเดียวกัน
  2. Tools เครื่องมือ ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่จะนำมาใช้ในการช่วยจัดการ ช่วยสร้าง ช่วยจัดเก็บให้เป็นระบบ หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ส่งเสริมการสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกของดิจิทัล
  3. Processes กระบวนการ ในที่นี้หมายถึง วิธี ขั้นตอน ที่จะนำมาซึ่งการสร้าง การใช้งาน การจัดสรรคน การนำข้อมูลมาเปลี่ยนรูปแบบได้และยังคงความถูกต้องของข้อมูล

ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้เราจะต้องให้ความสนใจไปพร้อมๆ กันมันถึงจะนำพาหน่วยงาน/องค์กรนั้นเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปได้ แต่ทั้งนั้นเราก็มาพิจารณากันสักหน่อยว่าองค์ประกอบไหนที่เราคิดว่าเปลี่ยนยากที่สุด.. คำตอบคือ องค์ประกอบที่ 1 ครับ เพราะว่าผู้คนส่วนใหญ่ มักยึดติดกับวิธีการ หรือแนวปฏิบัติแบบเดิมๆ กันมานมนาน จนบางครั้งหน่วยงานนั้นแก้ปัญโดยเอาคนนั้นออกไปจากระบบ อืม..ก็เข้าใจทั่ง 2 ฝ่ายอยู่นะ แต่มันเป็นการดีถ้าเราจะเริ่มยอมรับและเปลี่ยนแปลงมันอย่างเข้าใจไปพร้อมๆ กัน ทั้งผู้บริหาร ผูู้ปฏิบัติ มีมุมมองหรือแนวคิดที่ไปในทางเดียวกัน ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ พนักงานเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนบทบาทของพวกเขา ผมเชื่อว่า ขึ้นชื่อว่าคนนั้น มันยอมทน ยอมทำได้ทุกอย่างถ้าใจมันไป ใจมันให้นะครับ ก็เหมือนกับความรักนั้นละ ถ้าเรารักเขาแต่เขาไม่รักเรา มันก็จบครับ..

บทความนี้ก็ขอจบสั้นๆ เพียงเท่านี้หวังว่าท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงจะพอเข้าใจในสิ่งที่ผมนำเสนอไปนะครับ ขอบคุณครับ

นายธวัช วราไชย
นักวิชาการคอมพิวเตอร์