สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน น้าน.. กันเลย 555 ทักทายกันพอสมควรนะครับ เรามาเข้าสาระบทความกันเลยดีกว่า กับหัวข้อ "การพัฒนาแอพพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยหรือแบบไม่มีโค้ด (Low Code / No Code)"
ผู้อ่านคงรู้จักคำว่าแอพพลิเคชันกันใช่มั๊ยครับ ในชีวิตประจำวันหรือการทำงานเราก็จะใช้แอพพลิเคชันมากมาย อาทิเช่น LINE , Facebook , Gmail , Office Online และอื่น ๆ อีกมากมาย เบื้องหลังการได้มาของแอพพลิเคชันให้เราใช้งานนั้นมันจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Developer และผ่านกระบวนขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย จนเสร็จสิ้นปล่อยแอพพลิเคชันมาให้ User หรือผู้ใช้งาน ได้ใช้งานกัน
แล้วถ้าเรามีความต้องการที่จะพัฒนาแอพพลิเคชันด้วยตนเอง แบบที่เราไม่มีความรู้ในการเขียนโค้ดมาก่อนเลย เราจะพัฒนาแอพพลิชันได้หรือไม่ ? คำตอบคือ "ได้อยู่นะ" ถ้าเรามีความสนใจ มีความมุ่งมั่น จริงจัง อีกทั้งในปัจจุบันโลกเราเข้าสู่ยุค Digital ที่มีเทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและในปัจจุบันยังมี Generative AI (ปัญญาประดิษฐ์ ที่มีการฝึกฝนด้วยข้อมูลขนาดใหญ่) คอยช่วยให้คำแนะนำ เสนอแนะแนวทางการเรียนรู้ของเราได้อย่างไม่จำกัดกันเลยทีเดียว เราอยากจะรู้เรื่องอะไรเราสามารถสอบถามด้วยประโยค (Prompt) ที่ AI สามารถวิเคราะห์และแยกแยะความหมายและทำความเข้าใจ สุดท้ายก็จะได้ผลลัพธ์ที่ AI ประมวลผลมาให้เรา
ตัวอย่างในบทความนี้เรากำลังสนใจที่จะพัฒนาแอพพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยหรือแบบไม่มีโค้ดผมขอยกตัวอย่างใช้ Generative AI ที่ชื่อว่า "Gemini" ของ Google นะครับ จริงๆ มีเยอะครับ เช่น Chat-GPT , Co-Pilot ผมขออธิบายหลักการของการพัฒนาแอพพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยหรือแบบไม่มีโค้ด (Low Code / No Code) ด้วยผลลัพธ์ของ Generative AI ดังนี้นะครับ
Reference: Gemini (google.com)
ในบทความนี้ผู้เขียนมีความจงใจที่จะสื่อสารกับผู้อ่านให้เข้าใจและรับรู้ถึงเครื่องมือที่เราสามารถจะใช้มันในการศึกษาหาข้อมูลในเบื้องต้นได้แต่ไม่ได้มาเข้ามาแทนที่ของเดิมๆ ที่มีอยู่แล้วนะครับ เช่นกันครับ กับการพัฒนาแอพพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยหรือไม่ใช้โค้ดนั้น เราสามารถทำได้ครับแต่ความสามารถหรือความยืดหยุ่นของแอพพลิเคชันก็ไม่ได้เท่ากับการพัฒนาโดย Developer นะครับ แต่มันช่วยให้เรามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะเป็นนักพัฒนาในยุคใหม่ และสามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงาน/องค์กรของเราให้ได้มากที่สุด
สุดท้ายผมของสรุปใจความสำคัญของบทความดังนี้นะครับ สำหรับใครที่มีความต้องการจะพัฒนาแอพพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยหรือแบบไม่ใช้โค้ดนั้น เราสามารถที่จะเลือกและศึกษาเครื่องมือนั้นอย่าง รอบด้านทั้ง ใน Feature หรือคุณสมบัติและข้อจำกัดของเครื่องมือ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายราคาเพราะว่าของฟรีมีครับ แต่ไม่ได้ฟรีเสมอไปและตลอดไป บางอย่างก็ฟรี แต่พอใช้ไปในระยะหนึ่งก็มีการคิดเงิน เป็นธรรมดาครับเพราะพื้นฐานของเครื่องมือที่เขาสร้างขึ้นมานั้นเป็นโมเดลทางการตลาดอยู่แล้ว
ดังนั้นอยู่ที่เราครับ เราควรเลือกศึกษาอะไร ใช้อะไร ควรพิจารณาตามเหตุ ปัจจัยบนพื้นฐานที่เรามีอยู่ และที่สำคัญไม่ควรยึดติดในเครื่องมือใด เครื่องมือหนึ่ง แต่ให้เรายึดในหลักการพื้นฐานของความเหมาะสม และการพัฒนองค์ความรู้ของเราให้เพิ่มพูนและพร้อมที่จะแนะนำหรือชี้แนะคนอื่นๆ ได้ด้วยประสบการณ์ของตนเองว่ามันดีหรือไม่ เหมาะสมอย่างไร เพียงเท่านี้เราก็ได้ขึ้นชื่อว่า นักพัฒนาแล้วครับ ขอบคุณทุกท่านครับที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้
สำหรับบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เขียนและกลุ่มงานบริหารและบุคคล ได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร จะมีโครงการดีๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่อนำไปประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นตัวช่วยการขับเคลื่อน Digital Transformation คอยติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์ได้เร็วๆ นี้ ขอบคุณครับ
นายธวัช วราไขย
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
กลุ่มงานคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการกลางทางวิศวกรรม